info@takaraivfbkk.com
+66 2 339 3878
sitemap
สามารถแบ่งคร่าวๆได้เป็น 3 กลุ่มปัจจัย
ปัจจัยด้านผู้มีบุตรยากและคู่สมรส
ปัจจัยด้านทีมแพทย์ พยาบาล และนักวิทยาศาสตร์เลี้ยงตัวอ่อน
ปัจจัยด้านห้องปฏิบัติการ
ซึ่งจะกล่าวในรายละเอียดเป็นข้อๆ เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย ดังนี้
1. หากเป็นคู่สมรสที่ตรวจประเมินแล้วไม่พบสาเหตุ อัตราความสำเร็จจะขึ้นอยู่กับอายุของฝ่ายหญิงเป็นสำคัญ อาจพอประมาณการความสำเร็จได้ดังนี้
หากฝ่ายหญิงอายุน้อยกว่า 35 ปี มีอัตราการตั้งครรภ์ประมาณร้อยละ 40-50
อายุระหว่าง 36-40 ปี มีอัตราการตั้งครรภ์ประมาณร้อยละ 30
อายุมากกว่า 40 ปี มีอัตรการตั้งครรภ์ประมาณร้อยละ 10-20
2. ในกรณีที่ตรวจพบสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก สามารถแยกได้เป็น
สาเหตุจากฝ่ายชาย เช่น ภาวะท่อน้ำเชื้ออุดตัน อาจจำเป็นต้องผ่าตัดแก้ไข หรือใช้วิธีการอื่นเพื่อให้ได้ตัวอสุจิ
สาเหตุจากฝ่ายหญิง เช่น ถุงน้ำรังไข่ หรือเนื้องอกในโพรงมดลูก
หากได้รับการรักษาแล้วย่อมทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น
ต้องเป็นบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ชำนาญและมีประสบการณ์ มีการทำงานร่วมกันเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบตรวจสอบทุกขั้นตอนเพื่อความปลอดกัยของผู้ป่วย
1. ทีมแพทย์มีการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างสม่ำเสมอเพื่อนำมาปรับปรุงการบริการ ให้การดูแลแบบองค์รวมเพื่อประโยชน์ของผู้รับบริการ
2. ทีมพยาบาลต้องผ่านการฝึกอบรมและสามารถให้คำปรึกษาปัญหาได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเป็นมืออาชีพ
3. ทีมนักวิทยาศาสตร์เลี้ยงตัวอ่อน เป็นผู้ที่ได้การรับรองและมีทักษะทางห้องปฏิบัติการขั้นสูง มีการฝึกฝนอยู่เสมอ
ควรได้รับการรับรองมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการเลี้ยงตัวอ่อน และมีระบบควบคุมคุณภาพที่เข้มแข็ง ในขบวนการเก็บรักษาเซลล์สืบพันธุ์
1. อุปกรณ์ เครื่องมือทันสมัยและพร้อมใช้งาน เช่น กล้องจุลทรรศน์หัวกลับ เครื่องยิงเลเซอร์เจาะเปลือกไข่
2. น้ำและน้ำยาเลี้ยงตัวอ่อนที่ได้มาตรฐานและผ่านการทดสอบสารพิษต่อเซลล์สืบพันธุ์
เมื่อเลี้ยงตัวอ่อนได้ดี จะได้ตัวอ่อนที่มีคุณภาพสูงและมีโอกาสที่จะตั้งครรภ์ได้มากขึ้น โดยรวมทั้ง 3 ปัจจัยจะส่งผลต่อความสำเร็จในการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธ์ ช่วยให้คู่สมรสนั้นมีบุตรได้ต่อไป